Health

  • อหิวาตกโรค
    อหิวาตกโรค

    อหิวาตกโรค (Cholera) คือ โรคที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่าวิบริโอ โคเลอรี (Vibrio Cholerae) โดยได้รับเชื้อจากการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนแบคทีเรียชนิดนี้

    อหิวาตกโรค ทำให้เกิดอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำและอาเจียนอย่างรุนแรง ส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็วจนนำไปสู่การเกิดภาวะขาดน้ำ ในกรณีที่รุนแรงอาจเกิดอาการช็อคและเสียชีวิตได้

    อหิวาตกโรค

    อาการของอหิวาตกโรค

    – ท้องร่วง โดยลักษณะของอุจจาระจะเหมือนน้ำซาวข้าว ภายในอุจจาระมีเกล็ดสีขาวซึ่งเป็นเมือกหรือเนื้อเยื่อของกระเพาะอาหารขนาดเท่าเมล็ดข้าว และอาจมีกลิ่นเหม็นคาวร่วมด้วย

    – คลื่นไส้และอาเจียน โดยอาการมักเกิดขึ้นหลายชั่วโมงในช่วงเริ่มต้นของการแสดงอาการ

    – เกิดภาวะขาดน้ำ จากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ภายในร่างกายผ่านทางอุจจาระและอาเจียน ซึ่งหากผู้ป่วยสูญเสียน้ำในร่างกายไปมากกว่า 10% ของน้ำหนักตัว อาจเกิดอาการขาดน้ำขั้นรุนแรงได้

    – อาการอื่น ๆ ที่อาจเป็นผลมาจากภาวะขาดน้ำเช่น อารมณ์แปรปรวน ตาโหล กระหายน้ำมาก ริมฝีปากแห้ง ผิวแห้ง ปัสสาวะน้อย ความดันโลหิตต่ำ และหัวใจเต้นผิดจังหวะ

    สาเหตุของอหิวาตกโรค

    1. แหล่งน้ำ โดยเฉพาะแหล่งน้ำในชุมชนแออัดที่ไม่มีการจัดการด้านสุขาภิบาลที่ดี ซึ่งเชื้อสามารถลอยอยู่บนผิวน้ำได้ในระยะเวลานาน ทำให้แหล่งน้ำเหล่านี้เป็นแหล่งแพร่ระบาดของโรคชั้นดี

    2. อาหารทะเล โดยเฉพาะอาหารทะเลจำพวกหอยที่อาจมีการปนเปื้อนจากแหล่งน้ำ หากนำมารับประทานแบบดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ ก็อาจทำให้ร่างกายได้รับเชื้อได้

    3. ผักและผลไม้สดที่ไม่ได้ปอกเปลือก เนื่องจากผักผลไม้เหล่านี้อาจมีกระบวนการปลูกโดยใช้ปุ๋ยคอก ทำให้สามารถเกิดการปนเปื้อนของเชื้อได้

    ระยะฟักตัวอหิวาตกโรค

    – ผู้ได้รับเชื้อจะมีอาการตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมงแรกถึง 5 วัน (เฉลี่ย 1-3 วัน)

    การปฐมพยาบาลอหิวาตกโรค

    – ดื่มน้ำผสมสารละลายเกลือแร่ (ORS) แทนน้ำ
    รีบไปโรงพยาบาล

    ภาวะแทรกซ้อนของอหิวาตกโรค

    อหิวาตกโรคเป็นโรคที่รุนแรง หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียน้ำและเกลือแร่ในเลือด เกิดภาวะขาดน้ำ มีอาการช็อค และนำไปสู่การเสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่กี่ไม่ชั่วโมงหรือหลายวันหลังจากที่ปรากฏอาการของโรคแล้ว ซึ่งในกรณีที่รุนแรงอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ภายใน 2–3 ชั่วโมงเลยทีเดียว

    นอกจากนี้ อหิวาตกโรคยังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้ เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) ซึ่งเกิดจากการที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานอาหารได้จนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง ภาวะเกลือโพแทสเซียมต่ำ (Hypokalemia) ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายสูญเสียเกลือแร่จำนวนมากจากอาการท้องเสียอย่างรุนแรง รวมถึงภาวะไตวายที่ทำให้ไตไม่สามารถกรองของเสียในร่างกายได้อีกต่อไป

    การรักษาอหิวาตกโรค

    – ให้ผู้ป่วยจิบผงละลายเกลือแร่ (Oral Dehydration Salt: ORS) ที่ผสมในน้ำต้มสุก เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ในเลือดที่ร่างกายสูญเสียไป

    – ให้สารน้ำทดแทน (Intravenouse Fluids) ทางน้ำเกลือในกรณีที่เกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่มาก เพื่อรักษาภาวะขาดน้ำและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะช็อคจากการขาดน้ำเฉียบพลัน

    – ให้ยาปฏิชีวนะบางชนิดเพื่อช่วยลดระยะเวลาในการเกิดอาการท้องร่วง เช่น ยาดอกซีไซคลิน (Doxycycline) หรือยาอะซีโธรมัยซิน (Azithromycin)

    – ให้แร่ธาตุสังกะสีเพื่อช่วยลดระยะเวลาในการเกิดอาการท้องร่วง ซึ่งมักใช้รักษาอาการท้องร่วงในเด็ก

    ที่มา

    ch9airport.com

    allwellhealthcare.com

    ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ commodore-ale.com

     

Economy

  • “อนุทิน” โยนเผือกร้อนรถไฟสายสีส้ม วัดใจ “อธิรัฐ”
    “อนุทิน” โยนเผือกร้อนรถไฟสายสีส้ม วัดใจ “อธิรัฐ”

    “อนุทิน” โยนเผือกร้อนรถไฟสายสีส้ม วัดใจ “อธิรัฐ” รักษาการ รมว.คมนาคม

    นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีที่ศาลปกครองสูงสุด นัดอ่านคำพิพากษาโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ในวันที่ 30 มี.ค.นี้ ตามที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ยื่นฟ้องคณะกรรมการคัดเลือก

    โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ว่าหลังจากนั้นคณะรัฐมนตรี (ครม.) รักษาการก็ไม่ควรพูดคุยเรื่องนี้อีก และรอให้รัฐบาลใหม่เข้ามาพิจารณา เพราะถ้าจะพูดอะไรคงพูดไปตั้งแต่ที่เข้า ครม.คราวก่อนแล้ว เพราะตนได้เสนอใน ครม.ว่าถ้าจะอนุมัติอะไรก็ทำให้เสร็จ

    แต่ไม่ให้มีการลงนาม รอให้ศาลตัดสินออกมาแล้วค่อยมาดูกันว่าจะทำอย่างไร แต่เมื่อนายกรัฐมนตรีบอกว่าให้ถอยออกมาเลยก็จบ แปลว่าจะไม่นำกลับมาอีกในรัฐบาลนี้

    "อนุทิน" โยนเผือกร้อนรถไฟสายสีส้ม วัดใจ "อธิรัฐ" รักษาการ รมว.คมนาคมด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า

    ต้องถามนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคมที่รักษาการ รมว.คมนาคม แต่ถึงอย่างไรก็ขอดูคำพิพากษาก่อน ยังไม่รู้ว่าจะออกมาแบบไหน เรื่องนี้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีคมนาคม ซึ่งตอนนี้ รมช.คมนาคมรักษาการอยู่ ถ้า รมช.คมนาคมเสนอเข้ามา รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลก็ต้องนำเสนอเข้าที่ประชุม ครม.

    ส่วน ครม.จะมีมติอย่างไรก็เป็นเรื่อง ครม. แต่กรณีนี้ต้องไปเช็กดูว่าก่อนหน้านี้ครั้งที่แล้วเหมือนจะพูดว่าเอาไว้รัฐบาลหน้าก็แล้วกัน ซึ่งถ้าเป็นไปตามนั้นก็คงไม่มีการเสนอเข้าในช่วงรัฐบาลรักษาการ ซึ่งครั้งที่แล้วที่ทุกคนไม่ยื้อไว้ ก็เพราะว่าคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ความเห็นมา ซึ่ง ครม.ก็ต้องฟัง ถ้าอย่างนั้นก็เหมือนหลังพิงก็ให้ปลอดภัยไว้.

    ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th

    ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

    สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : commodore-ale.com