อุตสาหกรรมยานยนต์ หรือ Automotive Industry ประกอบด้วยบริษัทและองค์กรต่างๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การพัฒนา การผลิต การตลาด และการจัดจำหน่ายยานยนต์และชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งนี้ 5 หน่วยงานรัฐ-เอกชน จับมือหนุน SME-Startup ยกระดับผลิตยานยนต์สู่เทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อขับเคลื่อนเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่

อุตสาหกรรมยานยนต์ สู่ยานยนต์สมัยใหม่

องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน 5 หน่วยงาน ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการยานยนต์ไปสู่เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ด้วยวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) เพื่อให้เกิดกิจกรรมในการขับเคลื่อนการยกระดับผู้ประกอบการยานยนต์ให้สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ และสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพการผลิต ตลอดจนผลักดันให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แข่งขันได้อย่างยั่งยืน

นายพงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวว่า สถานการณ์โลกในปัจจุบันกำลังมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกจึงมีแนวโน้มเปลี่ยนไปสู่ยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) ขณะที่ไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกยานยนต์อันดับ 10 ของโลก และอันดับ 1 ของอาเซียนที่มีจุดแข็งในเรื่อง Supply Chain ของชิ้นส่วนยานยนต์ และความชำนาญในการผลิต จึงเป็นโอกาสที่ไทยจะช่วงชิงความได้เปรียบในการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก แต่ผู้ประกอบการไทยยังคงเผชิญกับความท้าทายในการปรับตัวเพื่อก้าวข้ามการเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์แบบเดิมไปสู่การเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้า

ดังนั้นความร่วมมือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ จึงมีความจำเป็นที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถเปลี่ยนผ่านสู่เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ สามารถพึ่งพาตนเอง และแข่งขันอุตสาหกรรมยานยนต์ในตลาดโลกได้มั่นคงและยั่งยืน

“ในนามของ สกสว.และหน่วยงานภาคีอีกทั้ง 4 หน่วยงาน จึงได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกันสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ Startup และ SME เร่งสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ให้สามารถเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ รวมถึงการสร้างโอกาสในการพัฒนาศักยภาพการผลิต ตลอดจนผลักดันให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่แข่งขันได้ในตลาดอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตต่อไป” นายพงศ์พันธ์ กล่าว

5 หน่วยงาน ภาครัฐ-ภาคเอกชน

สำหรับ 5 หน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) , หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) , สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.) , สถาบันยานยนต์ (สยย.) และ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT)

นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะกรรมการและเลชานุการร่วมคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ กล่าวว่า อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่มและการจ้างงานในประเทศ โดยในปี 2565 ไทยผลิตรถยนต์ 1.88 ล้านคัน มากเป็นอันอันดับ 10 ของโลก แบ่งเป็น ผลิตเพื่อใช้ในประเทศ 0.85 ล้านคัน ส่งออก 1 ล้านคัน โดยคาดว่าในปีนี้จะสามารถผลิตรถยนต์ได้ 1.95 ล้านคัน แบ่งเป็น การตลาดในประเทศ 0.90 ล้านคัน ส่งออก 1.05 ล้านคัน ซึ่งการผลิตยานยนต์ในประเทศไทย เริ่มต้นจากการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า สู่การเป็นฐานการผลิตที่ส่งออกไปทั่วโลก ด้วยการมี Product champion ที่ตอบสนองต่อความต้องการและการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัย

ปัจจุบันการผลิตยานยนต์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ให้ความสำคัญเรื่องคุณสมบัติ “สะอาด-ประหยัด-ปลอดภัย” ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มที่ทั่วโลกให้ความสำคัญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เริ่มต้นจากการส่งเสริมรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล นำมาสู่การส่งเสริมยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า (xEV) กำหนดเป็นเป้าหมายผลิตยานยนต์ไร้มลพิษ (Zero Emission Vehicle: ZEV) 30% ในปี 2573

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ของโลก เนื่องด้วยไทยมีตลาดในประเทศที่มีขนาดใหญ่เพียงพอสำหรับการตั้งโรงงานผลิต สามารถเข้าถึงตลาดต่างประเทศโดยการส่งออกได้สะดวกจากข้อตกลงระหว่างประเทศ (Free Trade Agreement: FTA) และนโยบายด้านภูมิรัฐศาสตร์ ในด้านอุปทาน อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยมีห่วงโซ่อุปทานในประเทศที่ยาว มีอุตสาหกรรมที่สนับสนุนจำนวนมาก รวมทั้งแรงงานที่มีฝีมือ การกำหนดนโยบายรัฐอย่างมีทิศทาง ช่วยส่งเสริมผู้ผลิตยานยนต์จากทุกประเทศได้อย่างเสมอภาค แม้ว่าไทยจะยังคงเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของโลก แต่ยังต้องเผชิญกับแรงกดดันจากภายในและภายนอกหลายประการ อาทิ การมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีไปสู่เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ ทั้งยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์เชื่อมต่อและขับขี่อัตโนมัติ และการเปลี่ยนแปลงบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมยานยนต์โลก

ดังนั้น ด้วยความท้าทายดังกล่าวทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง ด้วยการใช้ความเข้มแข็งต่อยอดสิ่งใหม่ๆ จากการทำวิจัยและพัฒนาในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย สร้างความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและนักวิจัยอย่างใกล้ชิด ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการร่วมมือพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยต่อไปได้ในอนาคต

อุตสาหกรรมยานยนต์

ภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์

แม้ว่ายานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยพลังไอน้ำ อย่าง Steam-Powered Road Vehicles มาเป็นเวลานานแล้ว ต้นกำเนิดของอุตสาหกรรมยานยนต์มีรากฐานมาจากการพัฒนาเครื่องยนต์เบนซินที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงในช่วงปี 1860 และ 1870 ในประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี โดยมีผู้ผลิตหลายร้อยรายที่เป็นผู้บุกเบิกรถม้าไร้การขับเคลื่อนจากม้า (Horseless Carriage) คําว่า Automotive หรือยานยนต์ มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกอย่าง αὐτός ซึ่งแปลว่า “ตนเอง –  self” และคําว่า Motion / Motive มีรากศัพท์มาจากภาษาละตินอย่าง Motivus ซึ่งแปลว่า “การเคลื่อนไหว – of motion” ซึ่งหมายถึงยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเองได้

อุตสาหกรรมยานยนต์ หรือ Automotive Industry ประกอบด้วยบริษัทและองค์กรต่างๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ การพัฒนา การผลิต การตลาด และการจัดจำหน่ายยานยนต์และชิ้นส่วนต่างๆ เช่น เครื่องยนต์และตัวถัง อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกถ้าวัดจากรายได้ Revenue นอกจากนี้ยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนสูงกับการวิจัยและพัฒนาสูงที่สุดต่อองค์กร ผลิตภัณฑ์หลักของอุตสาหกรรมคือรถยนต์นั่งส่วนบุคคล รถบรรทุกขนาดเล็ก รถกระบะปิคอัพ รถตู้ และรถอเนกประสงค์ และถึงแม้ว่ารถเพื่อการพาณิชย์ Commercial Motor Vehicle (CMV) ที่ใช้เพื่อดำเนินการทางการค้า เช่น รถส่งของ รถขนส่ง และรถบรรทุกพ่วง (Semis) จะมีความสำคัญ รถเพื่อการพาณิชย์ก็ไม่ใช่สินค้าหลักของอุตสาหกรรมรถยนต์

ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์

ห่วงโซ่อุปทาน หรือ ซัพพลายเชน (Supply Chain)  คือ กระบวนการทีเชื่อมโยงการดําเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าปลายทางทั้งในด้านสินค้าและบริการ เพื่อให้ลูกค้ามีความพึงพอใจสูงสุด โดยเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ จัดหา การผลิต การเคลื่อนย้าย การขนส่ง การจัดเก็บ การจัดจําหน่าย การขาย รวมถึงการนําเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสนับสนุนกระบวนการต่างๆ เพื่อให้สามารถดําเนินการประสานงานกันอย่างคล่องตัว โดยย่อ ห่วงโซ่อุปทานประกอบด้วยอุปสงค์และอุปทาน

องค์ประกอบของซัพพลายเชน

  • Upstream Supply Chain คือ ห่วงโซ่อุปทานที่เข้าสู่กระบวนการของผู้ผลิต ประกอบด้วยกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดหาโดยมีผู้เกี่ยวข้องหลัก คือ ซัพพลายเออร์ (Supplier)
  • Internal Supply Chain คือ ห่วงโซ่อุปทานภายในของกระบวนการผลิต ประกอบด้วยกระบวนการที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนอินพุต (Input) ให้เป็นผลิตภัณฑ์และบริการเอาต์พุต (Output) โดยมีผู้เกี่ยวข้องหลัก นั่นก็คือผู้ผลิต (Manufacturer)
  • Downstream Supply Chain คือ ห่วงโซ่อุปทานที่เข้าสู่กระบวนการของลูกค้าประกอบด้วยกระบวนการที่เกี่ยวกับการจัดส่ง ขนส่ง หรือสินค้าไปสู่มือผู้บริโภค

ห่วงโซ่อุปทานยานยนต์สำหรับการผลิตรถยนต์ รถบรรทุก และยานพาหนะอื่นๆ เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานที่ซับซ้อนที่สุดในโลก วัสดุและส่วนประกอบแต่ละชิ้นจำเป็นต้องผ่านกระบวนการจัดหา (Sourcing) และผลิต ซึ่งจะต้องอาศัยเอาท์ซอร์ส ซัพพลายเออร์ผู้ผลิตภายนอกเจ้าอื่น ผู้ผลิตชิ้นส่วนหรือแฟบริเคเตอร์ และซัพพลายเออร์ผู้จำหน่ายวัตถุดิบรายอื่น

ลักษณะสำคัญและความท้าทายของห่วงโซ่อุปทาน

อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนแบ่งบริษัทผู้ผลิตออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

  • บริษัทประกอบยานยนต์จากชิ้นส่วนสำเร็จรูป (Assembly)
  • บริษัทผลิตชิ้นส่วนของยานยนต์ (Tier-1)
  • บริษัทที่ประกอบชิ้นส่วนยานยนต์จากวัตถุดิบ (Tier-2) และ
  • บริษัทที่ผลิตวัตถุดิบ อาทิ ปิโตรเคมี พลาสติก เหล็ก และยาง เพื่อประกอบเป็นชิ้นส่วนของยานยนต์ (Tier-3)

ความท้าทายในห่วงโซ่อุปทานนอุตสาหกรรมยานยนต์

  • ความยั่งยืน (Sustainability)
  • ทัศนวิสัยต่ำ (Lack of Visibility)
  • ผลกระทบจากโควิด-19 (COVID-19 Impact)
  • สินค้าคงคลังล้นสต็อก (Overstocked Inventories)
  • ปัญหาการควบคุมคุณภาพ (Quality Control Issues)

ข่าวทั่วไปอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านข่าวทั่วไปได้ที่  commodore-ale.com

สนับสนุนโดย  ufabet369