เห็บหมา นั้นถือว่าเป็นหนึ่งในปัญหาที่กวนใจคนเลี้ยงสุนัขไม่น้อยเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงปลายฝนต้นหนาวที่มักจะเกาะบนตัวน้องหมามากกว่าปกติ ซึ่งเจ้าของก็จำเป็นต้องหาวิธีป้องกันและกำจัดไม่ให้มาเกาะและดูดเลือดน้องหมาแสนรัก รวมถึงโรคร้ายต่างๆ ที่จะแพร่มาสู่น้องหมาและอาจรุนแรงถึงขั้นตายได้เลยทีเดียว สำหรับผู้เลี้ยงแล้วมีวิธีป้องกันไม่ให้เห็บหมามากวนใจได้

เห็บหมา มีลักษณะต่างจากหมัดยังไง

เห็บ (Ticks) จะมี 8 ขา ลักษณะคล้ายกับแมงมุม ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ โดยเมื่อมันเกาะอยู่ที่ตัวน้องหมาจะดูดเลือดกินเป็นอาหาร และยังเป็นพาหะโรคอันตรายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคลายม์ โรคเออร์ลิชิโอสิส และโรคอะนาพลาสโมซิส ทำให้น้องหมามีอาการเจ็บป่วยได้

ส่วนหมัด (Fleas) จะมี 6 ขา ขนาดเล็กและมีขายาวกว่าเห็บ ลำตัวมีสีดำ-น้ำตาล สามารถกระโดดได้สูงและค่อนข้างเร็ว เป็นพาหะที่ทำให้เกิดพยาธิตัวตืดได้

เมื่อน้องหมามีเห็บ เจ้าของจะสามารถรู้ได้จากการสังเกตอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • มีอาการคัน ชอบเกาบริเวณหัวและใบหูบ่อยๆ
  • จุดแดงบนผิวหนังที่อาจมาจากการถูกเห็บหรือหมัดกัด
  • พบเห็นเห็บหมาภายในบ้านตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป
  • ตุ่มหรือผื่นบนผิวหนังที่อาจเกิดจากการแพ้หลังถูกเห็บกัด

วิธีกำจัดเห็บหมาให้น้องหมา

หากพบว่าน้องหมามีเห็บ อย่ารอช้า ควรรีบกำจัดเห็บหมาด้วยวิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้

1. ใช้ยากำจัดเห็บ

ใช้ยาที่ถูกผลิตมาสำหรับใช้ในการกำจัดเห็บโดยเฉพาะเท่านั้น ตอนนี้มีทั้งในรูปแบบของยาทา ยากิน ยาหยดหลัง ยาผสมน้ำอาบตัว และสเปรย์ โดยสามารถซื้อได้ตามร้านขายสัตว์เลี้ยง โรงพยาบาลสัตว์ หรือสั่งซื้อออนไลน์ แต่เจ้าของจะต้องอ่านฉลากและวิธีใช้ยาให้ดีก่อนซื้อยาไปใช้กับน้องหมาด้วย หรือถ้าหากไม่มั่นใจก็แนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนใช้จะดีกว่า เพื่อป้องกันอันตรายหรืออาการแพ้

2. ปลอกคอกันเห็บ

การให้น้องหมาสวมใส่ปลอกคอที่ถูกผลิตมาสำหรับใช้ป้องกันเห็บ จะสามารถช่วยกำจัดและป้องกันเห็บหมาบริเวณคอและหัวได้ดี โดยใส่ปลอกคอแบบเหลือช่องให้สามารถสอดนิ้วได้สองนิ้ว เพื่อไม่ให้ปลอกคอรัดแน่นเกินไป ตัดปลอกคอส่วนที่ยาวเกินไปทิ้งเพื่อไม่ให้น้องหมากัดแทะเล่น นอกจากนี้ให้คอยสังเกตหลังใส่ปลอกคอด้วยว่าน้องมีอาการแพ้หรือไม่ เช่น เกาบริเวณคอบ่อยผิดปกติ

3. แป้งกำจัดเห็บ

เลือกใช้แป้งที่มีคุณสมบัติในการกำจัดเห็บและสำหรับใช้กับสุนัขโดยเฉพาะ โดยควรอ่านฉลากอย่างละเอียดก่อนด้วยว่าสามารถใช้กับน้องหมาวัยไหนได้บ้าง รวมทั้งวิธีใช้แป้งต่างๆ เช่น ปริมาณและความถี่ในการใช้แป้ง ซึ่งทั่วไปแล้วมักจะเหมาะสำหรับใช้ทาบางๆ บนตัวน้องหมา ยกเว้นบริเวณใบหน้า หรืออาจโรยแป้งไว้ในบริเวณที่นอนของน้องหมาและจุดต่างๆ ของบ้านเพื่อป้องกันเห็บหมาก็ได้

4. แชมพูกำจัดเก็บ

แชมพูที่ใช้อาบน้ำให้กับน้องหมานั้นก็มีสูตรที่สามารถช่วยกำจัดเห็บให้เลือกใช้ได้เช่นกัน แต่เนื่องจากอาจมีส่วนผสมของยา ก่อนซื้อมาใช้จึงควรอ่านฉลากให้ละเอียดก่อน โดยแนะนำให้อาบแบบย้อนขนขึ้น เน้นบริเวณที่มักมีเห็บหมาเกาะอยู่ โดยเฉพาะตามซอกต่างๆ เช่น โคนขา โคนหาง และอุ้งเท้า

5. ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย

หมั่นทำความสะอาดบ้านและสวนรอบๆ บ้าน โดยเฉพาะบริเวณที่น้องหมาชอบอยู่เป็นประจำ รวมทั้งบริเวณซอกหลืบ มุมต่างๆ ของบ้าน และที่อับชื้น ซึ่งการใช้เครื่องดูดฝุ่นก็สามารถช่วยดูดกำจัดเห็บหมาและไข่ของมันได้ดี อาจใช้การพ่นยากำจัดเห็บรอบๆ ตัวบ้าน แต่ก็ต้องระวังผลข้างเคียงที่อาจเป็นอันตรายต่อคนและสัตว์เลี้ยงภายในบ้านด้วย

6. ตรวจหาเห็บที่ตัวสุนัข

เจ้าของควรหมั่นตรวจหาเห็บตามบริเวณต่างๆ บนตัวของน้องหมา ถ้าหากพบเห็บหมาเกาะอยู่แม้แต่ตัวเดียวให้รีบกำจัดออกทันที รวมทั้งหาวิธีต่างๆ เพื่อใช้ในการป้องกันเห็บไม่ให้มาเกาะกินดูดเลือดน้องหมาอีก

เห็บหมา

วิธีป้องกันและกำจัดเห็บเมื่อโดนกัดด้วยตนเอง

1.วิธีป้องกันเห็บกัด

เพื่อป้องกันการถูกเห็บกัด ควรระมัดระวังเมื่อต้องเดินป่า ทำสวน หรือไปในบริเวณที่มีเห็บชุกชุม โดยปฏิบัติตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

  • หลีกเลี่ยงการเดินผ่านพุ่มไม้หรือพงหญ้า และเลือกเดินตามเส้นทางเดินเท้า
  • สวมเสื้อผ้าสีสว่างเพื่อให้มองเห็นเห็บที่เกาะติดมากับเสื้อผ้าได้ง่ายขึ้น และเลือกสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด เช่น เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และถุงเท้าข้อสูงคลุมปลายกางเกง เป็นต้น
  • ใช้ยากันแมลงที่ปลอดภัย เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสารดีอีอีที (DEET) ประมาณ 20-30 เปอร์เซ็นต์ หรือสารเพอร์เมทริน สารที่มีประสิทธิภาพสูงสำหรับป้องกันเห็บ เป็นต้น
  • หลังกลับจากเดินทางหรือตอนอยู่ในบริเวณที่มีเห็บชุกชุม ให้หมั่นมองหาเห็บตามร่างกาย โดยสังเกตทั่วร่างกายโดยละเอียด โดยเฉพาะบริเวณหลังหู ศีรษะ และคอ
  • รีบถอดเสื้อและอาบน้ำทันทีหลังกลับจากบริเวณที่มีเห็บชุกชุม และนำเสื้อผ้าไปใส่ในเครื่องอบผ้า หรือเป่าด้วยไดร์เป่าผมลมร้อนประมาณ 20 นาที เพื่อฆ่าเห็บที่อาจหลงเหลือติดมากับเสื้อผ้า
  • ดูแลสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขหรือแมวให้สะอาดปราศจากเห็บอยู่เสมอ โดยให้สังเกตตามตัวของสัตว์เลี้ยงเมื่อสัตว์กลับมาจากนอกบ้าน หากพบเห็บให้รีบกำจัดเห็บออก ซึ่งอาจเลือกใช้ยากำจัดเห็บหมาหรือหมัดสำหรับสัตว์เลี้ยงได้ด้วยเช่นกัน

2. วิธีกำจัดเห็บเมื่อโดนกัด

สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรทำเมื่อถูกเห็บกัด คือ กำจัดตัวเห็บออกไปทันทีที่พบ ตามวิธีดังต่อไปนี้

  • ก่อนนำตัวเห็บออก
    ควรฉีดพ่นยากันแมลงที่มีส่วนประกอบของสารไพรีทริน (Pyrethrin) หรือสารไพรีทรอยด์ (Pyrethroids) ลงบนบริเวณที่ถูกกัด หรือทาครีมที่มีส่วนผสมของสารเพอร์เมทริน (Permethrin) รอบๆ บริเวณดังกล่าว เพื่อทำให้เห็บเป็นอัมพาตจนสามารถดึงออกมาได้ง่ายขึ้น แต่ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดการระคายเคือง เช่น เมทิลแอลกอฮอล์ (Methylated Spirit) และน้ำมันก๊าด (Kerosene) เป็นต้น
  • หลังจากฉีดพ่นยาแล้ว
    ห้ามใช้เข็มหรือไม้สะกิดตัวเห็บเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ดึงเห็บออกมาได้ยากขึ้น แต่ให้ใช้แหนบดึงตัวเห็บด้วยความระมัดระวัง โดยดึงตัวเห็บในบริเวณที่ใกล้กับผิวหนังที่สุด ดึงออกมาด้วยแรงบีบและความเร็วคงที่ ไม่บิด กระชาก บีบ ขยี้ หรือเจาะตัวเห็บ เพราะจะทำให้ของเหลวที่อาจมีเชื้อโรคถูกปล่อยออกมาจากตัวเห็บ

กำจัดเห็บหมัดที่อยู่ในบ้านและนอกบ้าน

การกำจัดในบ้าน

  • อย่าทิ้งเสื้อผ้ายังไม่ซักกองเรี่ยราดที่พื้น เพราะเห็บหมาหรือหมัดตัวแสบอาจเข้าไปซ่อนตัวอาศัยอยู่ได้
  • ถ้าสงสัยว่าเห็บหมาหรือหมัดอาจซ่อนอยู่ในกองผ้าที่ยังไม่ซัก ให้โยนเสื้อผ้าเข้าเครื่อง แล้วซักด้วยระบบน้ำร้อนไปเลย
  • ทำความสะอาดบ้านทั้งหลังตั้งแต่บนลงล่าง เช็ดตามตู้ โต๊ะ ใต้เตียง และใช้เครื่องดูดฝุ่นเป็นตัวช่วยสำคัญ ในการดูดเจ้าเห็บหมัดให้เข้าไปอยู่ในถุงเก็บฝุ่น อย่าลืมนำไปทิ้งทันทีที่ดูดฝุ่นเสร็จด้วย
  • เมื่อกำจัดเห็บหมาหรือหมัดตามวิธีที่กล่าวมาแล้ว ให้โรยหรือพ่นผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดให้ทั่วบ้าน โดยเน้นบริเวณที่นอนของสัตว์เลี้ยง และอย่าลืมบริเวณใต้โต๊ะ ใต้เตียง พรม และผ้าม่านด้วย

การกำจัดนอกบ้าน

หลังจากกำจัดเห็บหมาหรือหมัดทั้งในบ้านและนอกบ้านไปแล้ว ก็ถึงเวลาต้องมาป้องกันไม่ให้พวกมันกลับมาอีก ด้วยวิธีการ ดังนี้

  • ปิดประตูรั้วบ้านเสมอ เพื่อไม่ให้สัตว์นอกบ้านเข้ามาแพร่เห็บหมัดได้
  • พยายามอย่าให้มีบริเวณที่อับชื้น เพราะเป็นที่อยู่อาศัยชั้นดีของเห็บหมัดเลย
  • หมั่นตรวจตราร่างกายทั้งคนและสัตว์อยู่เสมอ ว่ามีเห็บหมัดมาหลบซ่อนตัวอยู่หรือไม่ โดยเน้นบริเวณแนวผม ข้อพับ ใต้รักแร้ และหากเจอให้ใช้แหนบดึงออก แต่พยายามอย่าบีบจนตัวเห็บหมัดแตก เพราะอาจจะแพร่เชื้อโรคจากเลือดมาสู่คนและสัตว์เลี้ยงได้
  • ทำผลิตภัณฑ์กำจัดเห็บหมัดใช้เอง โดยต้มน้ำปริมาณ 2 ถ้วย กับมะนาวหรือส้ม 2 ชิ้น นานประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นนำใส่ขวดสเปรย์เพื่อใช้ฉีดพ่นทั้งคน สัตว์เลี้ยง และบริเวณที่คาดว่าน่าจะมีเห็บหมาหรือหมัด

          เมื่อกำจัดเห็บหมัดตามวิธีที่แนะนำแล้ว อย่าลืมพาสัตว์เลี้ยงไปหาสัตวแพทย์ใกล้บ้าน เพื่อกำจัดเห็บหมัดให้หมดไป รวมถึงหาทางป้องกันไม่ให้กลับมาใหม่ และอย่าลืมตรวจตราร่างกายทุกครั้งที่ออกไปเดินป่า เพราะคุณก็อาจพาวายร้ายตัวจิ๋วนี้กลับมาได้เช่นกัน เพียงเท่านี้บ้านก็จะปลอดภัยไร้เห็บหมัด

โรคที่เกิดจากเห็บกัด มีอะไรบ้าง

  • โรคในสุนัข

โรคสุนัขที่เกิดจากเห็บที่สำคัญ ได้แก่ โรคพยาธิเม็ดเลือด ที่ทำให้เกิดอาการซึม ไม่กินอาหาร เยื่อเมือก เช่น เหงือกมีสีซีดจากภาวะโลหิตจาง ปัสสาวะเป็นสีน้ำตาลจากเม็ดเลือดแดงที่ถูกทำลาย ถ้าร้ายแรงกว่านั้นก็คือ อาการทางระบบประสาท ภาวะไตวายเฉียบพลัน จนถึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ตายได้

  • โรคในคน

ส่วนคนที่เป็นโรคนำโดยเห็บ ได้แก่ โรคลายม์ โรคไข้เห็บ โรคทูลาริเมีย ซึ่งคนที่ถูกกัดนั้นมักมีอาการที่ผิวหนังเช่น จุดเลือด แดง คัน ส่วนมากมักเป็นอาการเฉพาะที่ ถ้าถูกเห็บกัดแล้วมีอาการแพ้ ก็จะมีผื่นขึ้น เป็นแผลพุพอง หรือถึงขั้นหายใจติดขัดในกรณีที่มีอาการแพ้รุนแรงได้

ผลกระทบต่อสุขภาพหลังถูกเห็บกัด และวิธีการรับมือ

เห็บหมา หรือหมัด เป็นสัตว์ดูดเลือดและพาหะนำโรคที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ต่อทั้งมนุษย์และสัตว์เลี้ยง แม้โดยทั่วไปหากถูกกัดจะไม่เกิดอันตรายและไม่ปรากฏอาการเจ็บหรือคัน แต่ในบางกรณีก็อาจเกิดอาการแพ้ มีผื่นขึ้น เป็นแผลพุพอง หรือถึงขั้นหายใจติดขัดได้ ดังนั้น การตระหนักถึงอันตรายจากเห็บหมาและหมัดและเรียนรู้วิธีรับมือป้องกันในเบื้องต้นก็อาจช่วยลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงได้ที่  commodore-ale.com

สนับสนุนโดย  ufabet369